Last update: 16.04.2009
โรคภูมิแพ้เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกาย แล้วกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารนั้นมากผิดปกติ ภายหลังเมื่อได้รับสารนั้นเข้าไปอีก ภูมิคุ้มกันดังกล่าว ก็จะกระตุ้น ให้เกิดอาการ ซึ่งจะเกิดอาการเฉพาะในคนที่แพ้เท่านั้น ในคนปกติจะไม่เกิดอาการ
ผศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน
สาขาวิชาโรคจมูก และโรคภูมิแพ้
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โรคภูมิแพ้คืออะไร
โรคภูมิแพ้เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกาย แล้วกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารนั้นมากผิดปกติ ภายหลังเมื่อได้รับสารนั้นเข้าไปอีก ภูมิคุ้มกันดังกล่าว ก็จะกระตุ้น ให้เกิดอาการ ซึ่งจะเกิดอาการเฉพาะในคนที่แพ้เท่านั้น ในคนปกติจะไม่เกิดอาการ
โรคภูมิแพ้เป็นกลุ่มของโรคที่แสดงอาการได้กับหลายระบบของร่างกาย
อาการของโรคภูมิแพ้ขึ้นอยู่กับ ชนิดของโรคภูมิแพ้ที่เป็น ซึ่งพยาธิสภาพนั้นเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ทำงาน มากเกินไปทำให้เยื่อบุที่อวัยวะต่างๆ มีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากเกินไป ทำให้เกิดการตอบสนองที่มากผิดปกติของอวัยวะนั้น เช่น
ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุใด
สาเหตุเชื่อว่า เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เรียกกว่า สารก่อภูมิแพ้ (allergens) หรือ สิ่งกระตุ้น ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ การรับประทานอาหาร การสัมผัสทาง ผิวหนัง หรือถูกกัดต่อยผ่านผิวหนัง การสัมผัสทางตา ทางหู หรือทางจมูก
ปัจจุบันในประเทศไทย มีผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ มากน้อยเพียงใด
อุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ระบบทางเดิน หายใจ ได้แก่ โรคหืด และโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้สูงขึ้นทุกปี และมากถึง 3-4 เท่า ภายในเวลา 20 ปี
ขณะนี้ประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้โดยเฉลี่ยดังนี้ คือ โรคจมูกอักเสบจาก ภูมิแพ้หรือโรคแพ้อากาศ ร้อยละ 23-50, โรคหลอดลมอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคหืด ร้อยละ 10-15, โรคผื่นผิวหนัง อักเสบจากภูมิแพ้ ร้อยละ 15 และโรคแพ้อาหาร ร้อยละ 5 โดยอุบัติการณ์ในเด็กจะสูงกว่าในผู้ใหญ่
ทำไมจึงมีแนวโน้มของผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้เพิ่มขึ้นอยู่ตลอด
วิถีชีวิตในปัจจุบันมีแนวโน้มที่ระบบภูมิคุ้มกันจะ ถูกกระตุ้นโดยการติดเชื้อโรคน้อยลง ก็ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให ้อุบัติการณ์ ของโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้น (hygiene hypothesis) ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีทั้งระบบที่มีแนวโน้ม จะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ (TH-2) และระบบป้องกันการติดเชื้อ (TH-1) เมื่อเด็กป่วยบ่อยโดยมีการติดเชื้อบ่อยๆ เช่น ป่วยเป็นโรคหัด หรือวัณโรค หรือมีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ แล้วไม่ได้รับยาต้านจุลชีพ (อย่างเช่นในสมัยก่อน) มักจะมีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อดี มีโอกาสเบี่ยงเบนไปเป็นโรคภูมิแพ้น้อย ในทางตรงกันข้ามเด็กในปัจจุบัน เมื่อมีการติดเชื้อทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อย มักจะได้รับยาต้านจุลชีพ ทำให้ระบบป้องกันการติดเชื้อทำงานไม่ดีนัก มีโอกาสเบี่ยงเบนไปเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้นสิ่งแวดล้อมซึ่งแย่ลงเรื่อยๆ ในปัจจุบันเป็นปัจจัยเสริมทำให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ มีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากมลภาวะ เช่น ฝุ่นหรือควันในท้องถนน หรือจากโรงงานอุตสาหกรรม สามารถกระตุ้นทำให้เยื่อบุ ของระบบทางเดินหายใจมีความไวผิดปกติ ทำให้คนที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมที่ผิดปกติ แต่ยังไม่แสดงอาการ มีโอกาสมีอาการ หรือเป็นโรคภูมิแพ้ได้ง่ายขึ้น
โรคภูมิแพ้สามารถแบ่งได้เป็นกี่ชนิด
โรคภูมิแพ้ชนิดใดที่พบบ่อยมากที่สุดในประเทศไทย และเพราะเหตุใดจึงพบโรคภูมิแพ้ชนิดนั้นได้บ่อยที่สุด
โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ (โรคจมูกอักเสบจาก ภูมิแพ้หรือโรคแพ้อากาศ ร้อยละ 23-50 และ โรคหลอดลมอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคหืด ร้อยละ 10-15) เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดที่พบบ่อยมากที่สุดในประเทศไทย
เนื่องจากโรคภูมิแพ้ผิวหนัง และโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินอาหารมักเกิดในเด็ก และมักหายได้เอง นอกจากนั้นผู้ป่วยมักจะได้รับสารก่อภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจได้บ่อยและ สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ มากกว่าสารก่อภูมิแพ้ในระบบอื่น โดยเฉพาะตัวไรฝุ่น ซึ่งมักปะปนอยู่ในฝุ่น มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เป็นสารก่อภูมิแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจที่พบมากที่สุด
ตัวไรฝุ่นที่เป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ คืออะไร ส่วนใหญ่จะพบได้ที่ไหน
สำหรับไรฝุ่นจัดเป็นสัตว์ขาข้อตระกูลเดียวกับ หิด แมงมุม แต่ตัวเล็กกว่ามาก มีขนาดเล็กประมาณ 0.1-0.3 มิลลิเมตร มีสีขาวคล้ายฝุ่น วิ่งเร็ว อยู่ปะปนในฝุ่นจึงทำให้มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ยาก ต้องใช้กล้องขยายส่องดู ไรฝุ่นและมูลเป็นสาเหตุสำคัญในการก่อโรคภูมิแพ้ ไรฝุ่น 2 ชนิดที่พบบ่อยในฝุ่นบ้านและก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ ได้แก่ โรคภูมิแพ้ ไรฝุ่นชนิดDermatophagoides pteronyssinus (DP) และ Dermatophagoides farinae (DF) ห้องนอนคือแหล่งที่พบตัวไรฝุ่นอาศัยอยู่ค่อนข้างมาก เพราะอุณหภูมิ และความชื้นที่พอเหมาะ ซึ่งจากการวิจัยพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วในห้องนอน จะมีตัวไรฝุ่นอาศัยอยู่นับล้านตัว พบมากตามที่นอน ผ้าปูที่นอน หมอน ผ้าห่ม พรม และผ้าม่าน ตัวไรฝุ่นอาศัยอยู่ด้วยการกินขี้ไคล และรังแคของคน
ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ไรฝุ่น มีอาการอย่างไร
ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ไรฝุ่น มักจะมีอาการคัน จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา แสบตา เคืองตา น้ำตาไหล คันคอ ไอ หรือหอบหืดในเวลากลางคืนหรือช่วงตื่นนอน ซึ่งเป็นอาการของโรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ (โรคแพ้อากาศ และโรคหอบหืด) และตา (เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้)
เราจะกำจัดตัวไรฝุ่นได้อย่างไร
นอกจากนั้นควรลดปริมาณฝุ่นโดย
ในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้แต่ไม่แน่ใจว่าแพ้อะไร มีวิธีทดสอบอย่างไรบ้าง
ใช้การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง คือการนำน้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในอากาศ เช่น ฝุ่นบ้าน ตัวไรในฝุ่น แมลงสาบ เกสรหญ้า วัชพืช เชื้อรา เป็นต้น มาทำการทดสอบที่ผิวหนังของผู้ป่วย เพื่อให้ทราบว่าแพ้สารใด ทำง่าย และราคาไม่แพง สามารถทราบผลได้ทันที ผู้ป่วยสามารถเห็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นด้วยตาของตนเอง
สำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ มีวิธีรักษาอย่างไร / สามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม
มีวิธีรักษาอยู่หลายวิธี เช่น การดูแลตนเองอย่างเหมาะสม และหลีกเลี่ยง หรือกำจัดสิ่งที่แพ้ , การใช้ยาเพื่อบรรเทา อาการ, การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ ซึ่งเมื่อก่อนเราต้องนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศ แต่ในปัจจุบันเราสามารถผลิตวัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่นได้มาตรฐานสากลครบวงจรเป็น ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เนื่องจากโรคภูมิแพ้เป็นโรคทางพันธุกรรมจึงไม่หายขาด
ทำไม รพ. ศิริราชถึงเลือกที่จะผลิตวัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่น
วัคซีนที่ผลิตขึ้นจะเริ่มใช้ได้อย่างจริงจังเมื่อไร
จริงๆ แล้ว รพ. ศิริราช ได้ผลิตน้ำยาสกัดจากไรฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ชนิดอื่นๆ เพื่อใช้
สำหรับตรวจทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง และใช้เป็นวัคซีนเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้เองมานานกว่า 30 ปี ปัจจุบันเราได้ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต เพื่อให้ได้มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก และองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยความร่วมมือของภาคเอกชนและ จะนำขึ้นทะเบียนตามมาตรฐาน GMP ของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งคาดว่าประมาณ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี จะสามารถนำขึ้นทะเบียนและจัดจำหน่ายได้
ผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคภูมิแพ้ที่แพ้ไรฝุ่นเลย จะสามารถรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคภูมิแพ้ได้
หรือไม่
วัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่น ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่แพ้ไรฝุ่น ดังนั้นไม่สามารถป้องกัน
การเกิดโรคภูมิแพ้ในคนปกติที่ไม่เป็นโรคภูมิแพ้ได้ อย่างไรก็ตามถ้าผู้ป่วยเป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันการเป็นโรคหอบหืดได้
การรักษาด้วยการฉีดวัคซีนเป็นอย่างไร มีวิธีการฉีดอย่างไร
คือใช้วัคซีนที่เตรียมจากสารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้ มากระตุ้นให้ร่างกาย ของผู้ป่วยสร้างภูมิต้านทาน ต่อสิ่งที่แพ้ขึ้น โดยวิธีฉีดเข้าในผิวหนังทีละน้อยๆ ในระยะ 5-6 เดือนแรก จะฉีดสัปดาห์ละครั้ง โดยฉีดที่แขนสลับข้างกัน และค่อยๆ เพิ่มปริมาณของวัคซีนทีละน้อยตามลำดับ หลังจากฉีดได้ขนาดสูงสุดเท่าที่ผู้ป่วยจะรับได้แล้ว โดยไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น จึงไม่เพิ่มขนาดของวัคซีน และค่อยๆ เพิ่มระยะห่างของการฉีดวัคซีนออกไปเป็นทุกๆ 2 และ 3 สัปดาห์ จนถึงฉีดเพียงเดือนละครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นคงระดับสูงอยู่ได้ตลอดเวลา และควรฉีดเดือนละครั้งไปนาน 3-5 ปี จึงจะพิจารณาหยุดฉีดได้
หลังจากที่ได้รับการฉีดวัคซีนจนครบแล้ว ต้องฉีดวัคซีนอีกหรือไม่
ถ้าไม่มีอาการ ไม่จำเป็น แต่ถ้ามีอาการ และต้องการกลับมาฉีดอีก ก็สามารถทำได้
การฉีดวัคซีน มีข้อดีอย่างไรบ้าง
การฉีดวัคซีน จะมีผลข้างเคียงหรือข้อเสียอย่างไร
หลังจากที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง
ค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนที่ผลิตขึ้นในประเทศไทยจะถูกลงกว่าการนำเข้ามากน้อยเพียงใด
การรักษาในครั้งหนึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 800-1,000 บาท และถ้าวัคซีนไรฝุ่นที่เราผลิตได้เองสามารถนำออกมาใช้ได้นั้นจะช่วยลดค่าใช้ จ่ายในการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศ ร้อยละ 50 หรือประมาณ 360 ล้านบาทต่อปี
ในอนาคตจะมีการพัฒนาวัคซีนภูมิแพ้ประเภทไหนเพิ่มเติมบ้าง
วัคซีนภูมิแพ้แมลงสาบ, เกสรหญ้า และวัชพืชชนิดฉีด เนื่องจากเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย รองลงมาจากไรฝุ่น นอกจากนั้นจะมีการพัฒนาวัคซีนประเภทหยดเข้าไปในปาก บริเวณใต้ลิ้น (ชนิดรับประทาน) ซึ่งมีการนำมาใช้แล้วที่ต่างประเทศ มีข้อดีคือสะดวก, ไม่เจ็บ และใช้ในเด็กได้ดี
ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ถ้าไม่ได้รักษาจะเกิดอันตรายอะไรหรือไม่
โรคภูมิแพ้นั้น ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่กว่าคนปกติ เช่น ไม่สามารถ นอนหลับ ได้ตามปกติ, เรียนและทำงานได้ไม่เต็มที่ และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ไซนัสอักเสบ, ริดสีดวงจมูก, หูชั้นกลางอักเสบ, นอนกรน, ปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ผิวหนังติดเชื้อ, ช็อคจากภาวะภูมิแพ้ที่เกิดทั่วร่างกาย (anaphylactic shock), ขาดออกซิเจนเฉียบพลัน อาจถึงแก่ชีวิตจากภาวะหอบหืดเฉียบพลัน (ในรายที่เป็นมากและรุนแรง หลอดลมจะมีการตีบ แคบมาก ทำให้ไม่สามารถหายใจได้) โรคภูมิแพ้นั้น สามารถรักษาให้อาการต่างๆ ดีขึ้นได้ สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนบุคคลปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้โดยปราศจากโรคแทรกซ้อน ทั้งนี้การรักษามิ ได้ขึ้นอยู่กับการใช้ยาเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและ การปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง ของผู้ป่วยด้วย