Last update: 16.04.2009
(ปัญหา สำลัก) สิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและอาจมีอันตรายถึงแก่ ชีวิตได้ มักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มี ความอยากรู้อยากเห็น สนใจชอบค้นคว้า ทดลองด้วยตนเอง จึงมักเอาสิ่งแปลกปลอมใส่ไปในช่องต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะ ช่องทางเดินหายใจอันได้แก่ รูจมูก และปาก ประกอบกับฟันกรามที่ยังขึ้นไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถบดเคี้ยว อาหารชิ้นโต ให้ละเอียด เพียงพอ จึงอาจเกิดการสำลักในระหว่างรับประทานอาหาร และวิ่งเล่นไปด้วย
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
(ปัญหา สำลัก) สิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและอาจมีอันตรายถึงแก่ ชีวิตได้ มักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มี ความอยากรู้อยากเห็น สนใจชอบค้นคว้า ทดลองด้วยตนเอง จึงมักเอาสิ่งแปลกปลอมใส่ไปในช่องต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะ ช่องทางเดินหายใจอันได้แก่ รูจมูก และปาก ประกอบกับฟันกรามที่ยังขึ้นไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถบดเคี้ยว อาหารชิ้นโต ให้ละเอียด เพียงพอ จึงอาจเกิดการสำลักในระหว่างรับประทานอาหาร และวิ่งเล่นไปด้วย
ในผู้ใหญ่สามารถเกิดปัญหาสำลักได้เช่นเดียวกัน เมื่อผู้ป่วยพยายามจะทำกิจกรรมหลายๆอย่างในขณะกินอาหาร เช่น พูด, หัวเราะ เป็นต้น บางครั้งฟันปลอมที่ยึดติดไม่แน่นพอ อาจเลื่อนหลุดลงสู่ทางเดินหายใจหรือทางเดินอาหาร โดยไม่ได้ตั้งใจเช่นเดียวกับปัญหาที่เกิดตามหลังการ สำลัก
ภาวะฉุกเฉินกรณีทางเดินหายใจอุดกั้น
เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจผู้ป่วยจะมีอาการ สำลัก ไออย่างรุนแรง และมีอาหารหายใจลำบากได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่างและตำแหน่งของสิ่งแปลกปลอม สิ่งแปลกปลอมขนาดใหญ่มักติดค้าง และเกิดการอุดตันในระดับของกล่องเสียงหรือหลอดลมส่วนต้น ทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจอย่างสมบูรณ์และเฉียบพลัน ผู้ป่วยมักมีประวัติสำลักในขณะรับประทานอาหาร กุมฝ่ามือไว้ที่ลำคอ พูดไม่มีเสียง กระสับกระส่าย หายใจไม่เข้า ริมฝีปากเขียวคล้ำ ภาวะนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินเนื่องจากผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที แนะนำให้ใช้วิธีของ Heimlich ช่วยเหลือผู้ป่วยโดยในผู้ใหญ่ หรือเด็กโต ให้ทำในท่านั่งหรือยืนโน้มตัว ไปทางด้านหน้าเล็กน้อย ผู้ช่วยเหลือเข้าทางด้านหลัง ใช้แขนสอดสองข้างโอบผู้ป่วยไว้ มือซ้ายประคองมือขวาที่กำมือวางไว้ที่ใต้ลิ้นปี่ ดันกำมือขวาเข้าใต้ลิ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้เกิดแรงดันในช่องท้อง ดันเข้าใต้กระบังลมผ่านไปยังช่องทรวงอก เพื่อดันให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกจากกล่องเสียง ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปีอาจใช้วิธีตบหลังหรือใช้ฝ่ามือวางลงบนทรวงอก แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดลงบริเวณใต้ลิ้นปี่
ข้อพึงระวัง
คำแนะนำเพื่อป้องกันการสำลักสิ่งแปลกปลอม
คำแนะนำในกรณีที่เกิดการสำลักสิ่งแปลกปลอม