Last update: 16.04.2009
ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพในคอหอย, กล่องเสียง, ท่อลม, หลอดลม หรือหลอดอาหารอาจจำเป็น ต้องได้รับการส่องกล้องตรวจ ซึ่งจะทำให้แพทย์เห็นพยาธิสภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง, ช่วยประเมินความรุนแรง และขอบเขตของโรค และให้การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น ผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีก้อนเนื้องอกหรือมีการติดเชื้ออยู่บริเวณดังกล่าว หรือผู้ป่วยที่มีการตีบตันของทางเดินหายใจจากเนื้อเยื่อพังผืด หรือผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีสิ่งแปลกปลอม ในระบบทางเดินอาหาร หรือระบบทางเดินหายใจ, ผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บบริเวณกล่องเสียง หรือผู้ป่วยที่มีก้อนที่ศีรษะและคอ
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพในคอหอย, กล่องเสียง, ท่อลม, หลอดลม หรือหลอดอาหารอาจจำเป็น
ต้องได้รับการส่องกล้องตรวจ ซึ่งจะทำให้แพทย์เห็นพยาธิสภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง, ช่วยประเมินความรุนแรง และขอบเขตของโรค และให้การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น ผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีก้อนเนื้องอกหรือมีการติดเชื้ออยู่บริเวณดังกล่าว หรือผู้ป่วยที่มีการตีบตันของทางเดินหายใจจากเนื้อเยื่อพังผืด หรือผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีสิ่งแปลกปลอม ในระบบทางเดินอาหาร หรือระบบทางเดินหายใจ, ผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บบริเวณกล่องเสียง หรือผู้ป่วยที่มีก้อนที่ศีรษะและคอ
ผู้ ป่วยจะได้รับการส่องกล้องตรวจคอหอย, กล่องเสียง, ท่อลม, หลอดลม และหลอดอาหารทางปาก และ/หรือ ทำการตัดชิ้นเนื้อ หรือให้การรักษา โดยใช้ยาชาเฉพาะที่หรือวิธีดมยาสลบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด
ใน กรณีที่ใช้วิธีดมยาสลบ คืนวันก่อนการส่องกล้องตรวจ แพทย์จะให้งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน เพื่อป้องกันการสำลักอาหารลงปอดเวลาดมยาสลบ ในบางรายแพทย์อาจจะพิจารณาให้เข้ามาอยู่ในโรงพยาบาลก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมในการดมยาสลบ ในรายที่แพทย์เห็นว่าพยาธิสภาพในคอ อาจเสี่ยงต่อการอุดกั้นทางเดินหายใจ แพทย์อาจแนะนำให้เจาะคอใส่ท่อช่วยหายใจ ก่อนที่จะดมยาสลบ เพื่อส่องกล้องตรวจในคอ
การดมยาสลบ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เสียงแหบจากสายเสียงบวม หายใจลำบาก อาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจไว้ระยะหนึ่งหลังผ่าตัดเสร็จ อาจเกิดปอดอักเสบจากการสูดสำลัก แต่ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้น้อยมาก
หลังการส่องกล้อง และ/หรือ การตัดชิ้นเนื้อตรวจ หรือให้การรักษา อาจมีอาการเจ็บคอ หรือน้ำลายอาจมีเลือดปนเล็กน้อย ผู้ป่วยอาจได้รับยาที่จำเป็น เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาขับเสมหะ หรือ ยาละลายเสมหะ และจะมีสายให้น้ำเกลืออยู่ที่แขน ในรายที่แพทย์เจาะคอ ใส่ท่อช่วยหายใจ ก็จะมีท่อช่วยหายใจที่คอ ในรายที่มีการอุดกั้นทางเดินอาหาร และแพทย์สามารถใส่ท่อให้อาหาร (nasogastric tube) ได้ ก็จะมีท่อให้อาหารออกทางจมูกข้างใดข้างหนึ่ง ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องนอนอยู่ในโรงพยาบาล หลังการส่องกล้อง เมื่อผู้ป่วยกินได้ดีหรือฟื้นตัวดีแล้ว แพทย์จะเอาสายให้น้ำเกลือออกให้
ภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดได้จากการส่องกล้อง และ/หรือการตัดชิ้นเนื้อตรวจ หรือให้การรักษา ได้แก่ มีเลือดออกจากคอ ผนังของคอหอยด้านข้าง (pyriform sinus) ทะลุ หลอดอาหาร หรือ หลอดลมทะลุ แต่ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้น้อยมาก ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยอาจจะกลับบ้านได้เลย ในรายที่ต้องนอนอยู่ในโรงพยาบาล อาจกลับบ้านได้หลังการส่องกล้องตรวจ ประมาณ 1-2 วัน
การนัดตรวจหลังออกจากโรงพยาบาล แพทย์จะนัดมาฟังผลการตรวจชิ้นเนื้อ หรือวางแผนในการรักษาขั้นต่อไป ประมาณ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด