Last update: 10.02.2016
ปลอกคล้องรอบคอเพื่อลดอาการกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง (REZA BAND®)
รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน
สาขาวิชาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)
ปลอกคล้องคอ (Reza band®) นี้เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ไม่ใช่ยา ไม่ใช่การรักษาด้วยการผ่าตัด ถูกออกแบบมาเพื่อลดอาการของโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง (laryngopharyngeal reflux: LPR)
โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง หมายถึงโรคที่มีอาการทางคอและกล่องเสียงซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน(upper esophageal sphincter: UES) (รูปที่ 1) อย่างผิดปกติ [atypical or extraesophageal gastroesophageal reflux disease (GERD)] ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในเวลากลางวัน หรือกลางคืน หรือแม้แต่ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม ทำให้เกิดอาการจากการระคายเคืองของกรด
โดยปกติร่างกายจะมีกลไกป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไปที่คอและกล่องเสียง เช่น การบีบตัวของหลอดอาหาร การทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน (UES) และส่วนล่าง (lower esophageal sphincter: LES) (รูปที่ 1) การที่เกิดโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียงนั้น เชื่อว่าเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) มีการคลายตัวอย่างผิดปกติ ทำให้มีการไหลย้อนกลับของกรดขึ้นไปที่คอและกล่องเสียงได้ง่าย โดยปกติถ้ากรดไหลย้อนขึ้นไปในคอหอยจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน (UES) หดตัว ป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นไป ผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียงนั้น เชื่อว่ามีการทำงานของระบบป้องกันดังกล่าวเสียไป จึงมีกรดไหลย้อนขึ้นไปในคอหอย, กล่องเสียง และ/หรือ หลอดลมได้
อาการของผู้ป่วยนั้นขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ถูกระคายเคืองโดยกรด เช่น
1. อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร
2. อาการทางกล่องเสียง และหลอดลม
3. อาการทางจมูก และหู
Reza band® จะป้องกันไม่ให้กรดหรืออาหารในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาผ่านกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน (UES) ผู้ป่วยสวมใส่ Reza band® ที่คอขณะนอน (รูปที่ 2) ซึ่งจะช่วยเพิ่มแรงกดไปที่กระดูกไคคอยด์ (cricoid cartilage) บริเวณใต้ต่อส่วนที่ยื่นออกมาของลูกกระเดือก (Adam’s apple or laryngeal prominence) ซึ่งเป็นบริเวณที่ตรงกับ UES (รูปที่ 3) เครื่องมือดังกล่าวจึงไปเพิ่มแรงกดที่ UES ทำให้กรดหรืออาหารในกระเพาะอาหารไม่สามารถผ่าน UES ขึ้นมาในคอหรือกล่องเสียงได้ จึงช่วยลดอาการต่างๆที่เกิดจากกรดไหลย้อนมาเหนือ UES ขณะสวมใส่เท่านั้น (ถ้าไม่ได้สวมใส่ ก็จะไม่ช่วยลดอาการดังกล่าว)
Reza band® นี้ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาให้ใช้ในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียงที่มีอายุมากกว่า หรือเท่ากับ 18 ปีขึ้นไป ง่ายในการใช้ และมีน้ำหนักเบา (น้อยกว่า 1 ปอนด์) แพทย์จะสอนการสวมใส่เครื่องมือนี้แก่ผู้ป่วย และปรับแรงกดของเครื่องมือนี้บนคอของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าคอถูกกดขณะสวมใส่ คล้ายๆกับข้อมือที่ถูกกดขณะวัดชีพจร ผู้ป่วยสามารถปรับปุ่มที่อยู่ด้านหน้าเครื่องมือ (comfort dial) (รูปที่ 4) เพื่อให้เครื่องมือดังกล่าวกระชับกับคอ ไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป ส่วนใหญ่อายุการใช้งานของ Reza band® จะอยู่ประมาณ 6 เดือน ผู้ป่วยควรดูแลความสะอาดของส่วนของเครื่องมือที่กดลงบนคอ (cushion) ผู้ป่วยให้ดี และควรทำให้ผิวหนังบริเวณคอของผู้ป่วยแห้ง และสะอาดก่อนสวมใส่เครื่องมือนี้ โดยเช็ดเครื่องสำอาง, แป้ง, น้ำหอม และครีมทั้งหลายออกก่อน ผู้ป่วยสามารถล้างทำความสะอาดส่วนของเครื่องมือที่กดลงบนคอ (cushion) ได้โดยใช้น้ำอุ่น แล้วรอให้แห้งก่อนใช้
เครื่องมือชนิดนี้มีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 5 ส่วน (รูปที่ 4) คือ
1. ส่วนหน้าของปลอกคอ (frame) เป็นส่วนที่ต่อกับส่วนที่กดลงบนคอ (cushion) และส่วนหลังของปลอกคอ (comfort band) ส่วนนี้เป็นส่วนที่มีความยืดหยุ่นได้ จึงเป็นส่วนที่แพทย์สามารถปรับแรงกดลงบนคอผู้ป่วยได้ ทางด้านข้างของส่วนนี้จะมีแม่เหล็กที่สามารถยึดกับส่วนด้านข้างของปลอกคอ (clasp) ซึ่งสามารถถอดออกได้ เพื่อเอาไว้สวมหรือถอดปลอกคอออกจากคอผู้ป่วย
2. ส่วนที่กดลงบนคอ (cushion) อยู่ตรงกลางของคอ ใต้ต่อลูกกระเดือก
3. ส่วนหลังของปลอกคอ (comfort band) เป็นส่วนด้านหลังของปลอกคอ
4. ส่วนด้านข้างของปลอกคอ (clasp) เป็นส่วนที่ยึดติดกับส่วนหน้าของปลอกคอโดยใช้แม่เหล็ก ทำให้ผู้ป่วยสามารถสวมใส่ หรือถอดปลอกคอออกได้
5. ที่ปรับแรงกดลงบนคอ (comfort dial) เป็นปุ่มที่แพทย์และผู้ป่วยสามารถปรับแรงกดลงบนคอได้
เครื่องมือนี้ปลอดภัย และเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี ที่ใช้ยารักษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานและการนอน แล้วอาการของโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียงไม่ดีขึ้น หรือใช้ยารักษาแล้วอาการดีขึ้น แต่ไม่สามารถลดหรือหยุดยาได้ และผู้ป่วยไม่ประสงค์จะใช้ยาในการรักษาแล้ว หรือไม่สามารถใช้ยาได้ เนื่องจากทนผลข้างเคียงของยาไม่ได้
จากการศึกษาทางคลินิกพบว่า ผู้ป่วยจะมีอาการของโรคกรดไหลย้อนไหลน้อยลง หลังการใช้ Reza band® ภายใน 2 สัปดาห์แรก ร้อยละ 85 ของผู้ป่วยรู้สึกว่าอาการของตนดีขึ้นมากกว่าร้อยละ 25 เมื่อเปรียบเทียบกับอาการก่อนใช้ Reza band® โดยเฉลี่ยผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจากเดิมร้อยละ 54
ข้อควรระวัง
ไม่ควรใช้ Reza band® ใน
ถ้าผู้ป่วยใช้ Reza band® แล้วมีผลข้างเคียง เช่น มีอาการเจ็บหรือรู้สึกไม่สบายบริเวณคอ, ผิวหนังมีการระคายเคือง หรืออาการกรดไหลย้อนแย่ลง หรือใส่ปลอกคอแล้วไม่อยู่กับที่ เคลื่อนไปมา ควรหยุดใช้ Reza band® และปรึกษาแพทย์ อย่างไรก็ตามอาการเจ็บหรือรู้สึกไม่สบายที่คอ, การระคายเคืองของผิวหนังที่คอ และอาการกรดไหลย้อนที่แย่ลง ส่วนใหญ่มักจะหายไปได้เองหลังใส่ Reza band®
ผู้ป่วยจะใช้ Reza band® อย่างไร
ผู้ป่วยจะดูแลทำความสะอาด Reza band® อย่างไร