Last update: 16.04.2009
โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มีคำจำกัดความในทางคลินิกตามอาการคือ เป็นโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายชนิดที่มีอาการแสดงทาง จมูก เกิดหลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไป แล้วเกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูก ทำให้เกิดอาการคัน น้ำมูกไหล จาม และคัดจมูก ตั้งแต่น้อย จนถึงเป็นมาก
ผศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน
สาขาวิชาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
คำจำกัดความ
โรค จมูกอักเสบจากภูมิแพ้มีคำจำกัดความในทางคลินิกตามอาการคือ เป็นโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายชนิดที่มีอาการแสดงทาง จมูก เกิดหลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไป แล้วเกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูก ทำให้เกิดอาการคัน น้ำมูกไหล จาม และคัดจมูก ตั้งแต่น้อย จนถึงเป็นมาก
โรค จมูกอักเสบจากภูมิแพ้เป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย และประเทศอื่นๆทั่วโลก อุบัติการของโรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 10-25 ของประชากรทั่วไป อุบัติการของโรคนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ที่มีมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้น เชื่อว่าการที่มีปริมาณของสารก่อภูมิแพ้มากขึ้น และประชากรสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ และสารระคายเคืองในอากาศมากขึ้น ทำให้พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ในเด็กจะพบโรคนี้ ในเด็กชายบ่อยกว่าเด็กหญิง แต่ในผู้ใหญ่จะพบในผู้หญิงได้บ่อยกว่าผู้ชาย โรคนี้มักจะเริ่มแสดงอาการในวัยเรียนหรือวัยรุ่น
แม้ ว่าโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้นี้มักไม่รุนแรง แต่มีผลต่อการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมของผู้ป่วย และมีผลต่อการเรียน และประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้คุณภาพชีวิตทั้งทางด้านร่างกาย , จิตใจ และการเข้าสังคมแย่ลง เมื่อเทียบกับคนปกติทั่วไป ยิ่งกว่านั้นค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคนี้ก็มีมูลค่าสูงด้วย นอกจากนี้การที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ เช่นหูชั้นกลางอักเสบ โรคหืด ไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูก นอนกรนและ / หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ใน สมัยก่อนโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้แบ่งโดยอาศัยระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการออก เป็นชนิดที่เป็นเฉพาะฤดู (seasonal) และชนิดที่เป็นตลอดทั้งปี (perennial) ส่วนการวินิจฉัยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ใช้ประวัติอาการคัน จาม น้ำมูกไหลและคัดจมูก โดยมีอาการดังกล่าวมากกว่าหรือเท่ากับ 2 อาการ และอาการเหล่านั้นเป็นอยู่นานมากกว่า 1 ชั่วโมง และ เป็นแทบทุกวัน คณะทำงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เสนอการแบ่งชนิดของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้แบบใหม่ โดยแบ่งเป็น 2 ชนิด เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการวางแผนการรักษา ในการแบ่งกลุ่มใหม่ของโรคนี้อาศัย
1. ผู้ป่วยมีอาการเป็นบางครั้ง หมายถึง มีอาการน้อยกว่า 4 วันต่อ 1 สัปดาห์ หรือมีอาการติดต่อกันน้อยกว่า 4 สัปดาห์
2. ผู้ป่วยมีอาการตลอดเวลา หมายถึง มีอาการมากกว่า 4 วัน ต่อ 1 สัปดาห์ และมีอาการติดต่อกันนานกว่า 4 สัปดาห์
องค์การอนามัยโลก ได้เสนอให้ใช้อาการทางคลินิกที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แบ่งความรุนแรงของโรคออกเป็น 2 กลุ่มคือ
โดยในกลุ่มอาการน้อย ไม่มีอาการดังต่อไปนี้ ส่วนในกลุ่มอาการปานกลางถึงมาก มีอาการดังต่อไปนี้ 1 อาการหรือมากกว่าคือ
ลักษณะทางคลินิก
เมื่อ ผู้ป่วยสัมผัสสารก่อภูมิแพ้เช่น ฝุ่นบ้าน ผู้ป่วยจะมีอาการคันจมูก และอาจมีอาการจามติดๆ กันหลายครั้ง และมีน้ำมูกใสๆ และอาการคัดจมูกตามมา อาการดังกล่าวมักเป็นอยู่เป็นนาที หรือชั่วโมง หลังจากนั้นจะหายได้เอง โดยอาจมีอาการคันที่ตา , คอ , หู หรือที่เพดานปากด้วย นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการปวดศีรษะ , เสียงเปลี่ยน , จมูกไม่ได้กลิ่น , น้ำมูกไหลลงคอ , ไอ , เจ็บคอเรื้อรัง อาจมีอาการหูอื้อ หรือมีเสียงดังในหู
ผู้ ป่วยที่มีอาการตั้งแต่อายุยังน้อย และเป็นอยู่นาน ทำให้ต้องหายใจทางปากเสมอ อาจทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้าและฟันผิดปกติคือใบหน้าส่วนล่างจะ ยาวกว่าปกติ เนื่องจากต้องอ้าปากหายใจตลอดเวลา เพดานปากจะแคบและโค้งสูง ในเด็กที่มีอาการคันจมูก เด็กมักจะยกมือขึ้นขยี้ หรือ เสยที่ปลายจมูกบ่อยๆ การทำเช่นนี้นานๆ อาจทำให้เกิดมีรอยย่นที่สันจมูก รายที่มีอาการคัดจมูกอยู่นานๆ อาจทำให้มีการคั่งของเลือดบริเวณใต้ขอบตาล่าง
ขณะที่ ผู้ป่วยกำลังมีอาการ ถ้าตรวจจมูก จะพบว่าเยื่อบุจมูก จะบวม อาจมีสีซีด หรือสีคล้ำ มีน้ำมูกใสๆ จำนวนมาก เยื่อบุจมูกอาจมีริดสีดวงจมูกร่วมด้วยได้ เยื่อบุในโพรงหลังจมูกอาจบวมซีด และมีน้ำมูกใสๆ นอกจากนั้นอาจพบ ต่อมแอดีนอยด์โตได้ การตรวจคอ อาจพบผนังคอเป็นตุ่มนูนแดงกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งเกิดจากการระคายเคืองเรื้อรังของผนังคอจากน้ำมูกที่ไหลลงคอหรือจากการ หายใจทางปาก
มี จุดประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค รวมทั้งวินิจฉัยโรคอื่น ที่อาจเกิดร่วมกับโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และผลแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากโรคนี้ เพื่อที่จะได้ให้การรักษาไปพร้อมกัน
1. ประวัติ อาศัย ลักษณะเฉพาะของอาการ เมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ และอาจมีโรคภูมิแพ้อื่นๆร่วมด้วย เช่น โรคหืด , โรคตาอักเสบจากภูมิแพ้ , โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ นอกจากนี้อาชีพ , สัตว์เลี้ยง และสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน รวมทั้งสารที่ผู้ป่วยคิดว่าตนแพ้ ประวัติครอบครัวก็มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรค โดยผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อาจมีพ่อ , แม่ หรือ ญาติพี่น้อง เป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆดังกล่าวได้
2. การตรวจร่างกาย ถ้า ตรวจขณะที่มีอาการ ก็อาจพบอาการแสดงดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ถ้าตรวจขณะที่ไม่อาการ หรือผู้ป่วยกินยาระงับอาการของโรคภูมิแพ้อยู่ ก็อาจไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ
3. การตรวจพิเศษ จะ ช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค ในรายที่มีประวัติ และการตรวจร่างกายเข้าได้กับโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และจะช่วยในการวินิจฉัย ในรายที่มีประวัติ และการตรวจร่างกายไม่ชัดเจน หรือวินิจฉัยโรคอื่น ที่เกิดร่วมกับโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และผลแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากโรคนี้ การตรวจพิเศษเหล่านี้ได้แก่
3.1 การตรวจหาจำนวนเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบจากภูมิแพ้ ชนิดอีโอสิโนฟิลใน เลือด ถ้า พบว่าอีโอสิโนฟิลสูงมากกว่าร้อยละ 10 จะช่วยสนับสนุน แต่ถ้าไม่สูง ไม่ได้บอกว่าผู้ป่วยไม่เป็นโรคนี้ หรือถ้าสูงมากๆ อาจต้องคิดถึงโรคอื่นด้วย
3.2 การตรวจหาจำนวนอีโอสิโนฟิลในน้ำมูก โดย นำน้ำมูกผู้ป่วยมาป้ายแล้วย้อมสี ถ้าพบว่ามากกว่าร้อยละ 30 ของเม็ดเลือดขาวที่ตรวจพบเป็นอีโอสิโนฟิล ก็น่าจะเป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ และจะช่วยสนับสนุน และเช่นเดียวกัน ถ้าไม่พบอีโอสิโนฟิลหรือพบน้อยกว่าร้อยละ 30 ก็ไม่ได้บอกว่าผู้ป่วยไม่เป็นโรคนี้
3.3 การตรวจหาเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบจากภูมิแพ้ ชนิดมาสต์เซลล์/ เบโสฟิลที่เยื่อบุจมูก โดยการขูดชั้นผิวของเยื่อบุจมูก แล้วย้อมสี ในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้จะพบ มาสต์เซลล์/ เบโสฟิลมากกว่าคนปกติ
3.4 การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง จะ ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ป่วยแพ้ ทำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงได้ถูกต้อง และให้ข้อมูลในกรณีที่ต้องรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีฉีดวัคซีน การตรวจวิธีนี้เป็นวิธีที่มีความไวและความจำเพาะสูงสุดในการตรวจวินิจฉัยโรค จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มี 2 วิธีคือ
- วิธีสะกิด ใช้น้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ หยดลงบนผิวหนังที่แขน แล้วใช้เข็มสะกิดตรงกลางหยดน้ำยา เพื่อเปิดผิวหนังชั้นบนออก ถ้าผู้ป่วยมีปฏิกิริยาอักเสบจากภูมิแพ้ที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้นั้น ก็จะเกิดรอยนูน (wheal) และ ผื่นแดง (flare) และอาจมีอาการคัน อ่านผลได้ในเวลา 20 นาที หลังการทดสอบ
- วิธีฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง ใช้น้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ จำนวน 0.02 มล . ฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง ให้เกิดรอยนูนที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 มม . อ่านผลในเวลา 20 นาที หลังฉีดโดยวัดขนาดของรอยนูนที่ขยายใหญ่ขึ้น
สาร ก่อภูมิแพ้ที่นำมาทดสอบ มักเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อย เช่น ฝุ่นบ้าน , ตัวไรในฝุ่น , แมลงต่างๆ ที่อาศัยในบ้าน เช่น แมลงสาบ โดยทั่วไปจะทดสอบโดยวิธีสะกิดก่อน ถ้าให้ผลลบ จึงพิจารณาทดสอบโดยวิธีฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง ต่อไป ถ้าวิธีสะกิดให้ผลบวกชัดเจน ไม่จำเป็นต้องทำการทดสอบโดยวิธีฉีดเข้าในชั้นผิวหนังอีก เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้มากจนช็อค
3.5 การหาปริมาณสารก่อภูมิแพ้ ในเลือด ซึ่ง หาได้ทั้งแบบไม่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ช่วยมากนักในการวินิจฉัยโรค และแบบที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด ซึ่งเป็นที่นิยมในต่างประเทศ เนื่องจากไม่เจ็บและไม่เสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้มาก , ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดยาบรรเทาอาการภูมิแพ้ , ไม่ต้องใช้เวลานานในการทดสอบ ทำให้สะดวก เพียงแค่เจาะเลือด 1 ครั้ง สามารถตรวจหาสารที่ผู้ป่วยแพ้ได้หลายชนิด แต่ในประเทศไทยไม่นิยมใช้ เนื่องจากมีราคาแพง
3.6 การนำสารที่สงสัยว่าผู้ป่วยแพ้ ใส่เข้าไปในเยื่อบุจมูก แล้วดูปฏิกิริยาของเยื่อบุจมูก และอาการของผู้ป่วย ซึ่งมักจะใช้ในการทำวิจัยมากกว่า อย่างไรก็ตามอาจมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคจมูกอักเสบจากการแพ้สารที่เกี่ยว ข้องกับการประกอบอาชีพ
3.7 เอ็กซเรย์ของไซนัส เพื่อดูว่าผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มีโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย
3.8 การส่องกล้องตรวจโพรงจมูกด้วยกล้องเอ็นโดสโคป เพื่อ ตรวจภายในช่องจมูกให้ละเอียดมากขึ้น ในรายที่สงสัยว่าจะมีภาวะแทรกซ้อน หรือโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด , ริดสีดวงจมูกขนาดเล็ก , ไซนัสอักเสบ , เนื้องอกของจมูกและไซนัส , ความผิดปกติทางกายวิภาคอื่นๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการทางจมูก
การ รักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ควรเริ่มตั้งแต่อธิบายให้ผู้ป่วยและคนในครอบครัวผู้ป่วย เข้าใจโรคนี้อย่างถูกต้อง และแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตนเองให้เหมาะสม เช่น รักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยออกกำลังกายสม่ำเสมอ , รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ , นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และ รักษาสุขภาพจิตให้สดชื่น แจ่มใส เพราะถ้ามีความเครียด วิตกกังวล อาจทำให้อาการของโรคเป็นมากขึ้น ถ้าผู้ป่วยมีอาการของโรคหืด หรือโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง ก็ควรให้การรักษาร่วมด้วย หลักการรักษามีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
1. การหลีกเลี่ยง หรือกำจัดสิ่งที่แพ้
เป็น การรักษาที่สำคัญที่สุด โดยหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ หรือกำจัด หรือลดปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เหลือน้อยที่ สุด โดยเฉพาะในห้องนอนซึ่งผู้ป่วยต้องใช้เวลาอยู่ในห้องนี้ 6–8 ชั่วโมง ต่อวัน แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตว่า สารหรือภาวะแวดล้อมอะไร ที่ทำให้อาการเป็นมากขึ้น เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยง อย่างไรก็ตาม บางครั้งการหลีกเลี่ยง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยากในชีวิตประจำวัน
2. การใช้ยาบรรเทาอาการ เช่น
• ในรายที่มีอาการคัดจมูกมาก ซึ่งทำให้การใช้ ยาสตีรอยด์พ่นจมูกได้ผลไม่ดี เนื่องจากยาไม่สามารถเข้าไปในจมูกได้ทั่วถึง
• ในรายที่มีอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ร่วมด้วย
• ในรายที่มีริดสีดวงจมูกเล็กๆ ร่วมด้วย เพื่อทำให้ริดสีดวงจมูกยุบ
• ในรายที่มีเยื่อบุจมูกเสียเนื่องจากการใช้ ยาหดหลอดเลือดชนิดใช้เฉพาะที่นานเกินไป
ยา สตีรอยด์ชนิดรับประทานมีข้อดีเหนือยาสตีรอยด์เฉพาะที่คือ มีผลต่อทุกส่วนของจมูกและโพรงอากาศข้างจมูก แต่อาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้มาก จึงไม่ควรใช้ นานเกิน 14 วัน ส่วนยาสตีรอยด์เฉพาะที่ที่ใช้ในจมูกถือเป็นการรักษามาตรฐานของโรคนี้ โดยเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มากที่สุด ดังนั้นจึงใช้ยานี้ในการรักษาและป้องกันอาการ การใช้ยาสตีรอยด์เฉพาะที่ควรใช้ต่อเนื่องกันจึงจะได้ผลดี ในการคุมอาการของผู้ป่วย องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้ยานี้เป็นยาชนิดแรกในการรักษาผู้ป่วยที่มี อาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้แบบอาการปานกลางถึงมาก หรือ รายที่มีอาการตลอดเวลา หรือในรายที่มีอาการคัดจมูกเป็นอาการเด่น
3. การฉีดวัคซีน (allergen immunotherapy)
เป็น การฉีดสารก่อภูมิแพ้ ที่คิดว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการ เข้าไปในร่างกายทีละน้อย โดยฉีดเข้าในผิวหนัง (intradermal) หรือใต้ผิวหนัง (subcutaneous) แล้วค่อยๆ เพิ่มจำนวนจนได้ขนาดสูงสุดที่ผู้ป่วยรับได้
การ ฉีดวัคซีนนี้เป็นวิธีเดียว ที่มีแนวโน้มว่าจะรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ให้หายได้ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเซลล์ระดับภูมิคุ้มกัน องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เริ่มฉีดวัคซีน ในระยะแรกของโรค เมื่อมีข้อบ่งชี้ เพื่อลดผลข้างเคียงจากการใช้ยา และป้องกันไม่ให้อาการของโรคที่เป็นอยู่รุนแรง และป้องกันไม่ให้เกิดผลแทรกซ้อนจากโรคตามมา
นอกจากการให้วัคซีนโดยวิธีฉีดแล้ว มีรายงานว่าการให้วัคซีน ทางจมูก หรือหยดใต้ลิ้น ก็ได้ผลดีเช่นกัน
อาจจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดรักษาอาการบางอย่าง เช่น อาการคัดจมูก หรือน้ำมูกไหล ซึ่งให้การรักษาโดยการใช้ยาอย่างเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้น
1. การผ่าตัดเพื่อรักษาอาการคัดจมูก ในรายที่เยื่อบุจมูกมีการหนาตัวขึ้นอย่างมาก อาจทำให้มีอาการคัดจมูกตลอดเวลา ซึ่งอาจรักษาโดย
2. การผ่าตัดเพื่อรักษาอาการน้ำมูกไหล ได้แก่ การตัดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงเยื่อบุจมูกบางเส้น ทำให้อาการน้ำมูกไหลลดน้อยลง
นอก จากนี้ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนหรือมีโรคร่วมเกิดขึ้น ก็อาจต้องทำผ่าตัดรักษาเช่น ไซนัสอักเสบที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีริดสีดวงจมูกร่วมด้วย ก็อาจต้องผ่าตัดโพรงจมูกและไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป รายที่มีน้ำคั่งในหูชั้นกลาง ที่รักษาแล้วไม่ดีขึ้น ก็อาจใส่ท่อระบายที่เยื่อแก้วหู
โรคที่พบร่วมกับโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
โรค จมูกอักเสบจากภูมิแพ้อาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ ได้แก่ หูชั้นกลางอักเสบและน้ำคั่งในหูชั้นกลาง โรคหืด เจ็บคอและไอเรื้อรัง ไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น และปัญหานอนกรน และ / หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
1. หูชั้นกลางอักเสบและน้ำคั่งในหูชั้นกลาง คือ การอักเสบของเยื่อบุในหูชั้นกลาง มักจะมีสารคัดหลั่งเกิดขึ้นภายในหูชั้นกลางด้วย อาจเป็นน้ำใส , มูกหรือหนอง ถ้ามีอาการเกิดขึ้นเฉียบพลัน จะมีอาการไข้ ปวดหู หรือมีหนองไหลจากหู ในรายที่มีเยื่อแก้วหูทะลุ ในรายที่มีของเหลวขังอยู่ในหูชั้นกลาง จะไม่มีอาการและอาการแสดงของการอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยมักจะมีการได้ยินลดลง มักเกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เยื่อบุจมูกทำให้เกิดการบวมและอุดตันของท่อยู สเตเชียน (ที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูก) ซึ่งทำให้ความดันอากาศในหูชั้นกลางต่ำกว่าภายนอก และเกิดสารคัดหลั่งในหูชั้นกลาง
2. โรคหืด
พบ ว่าร้อยละ 60 – 78 ของผู้ป่วยโรคหืดจะมีโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร่วมด้วย และ ร้อยละ 20 – 30 ของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นโรคหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการมาก หรือควบคุมไม่ได้ดี จะทำให้อาการหอบหืดแย่ลง ถ้ารักษาให้อาการทางจมูกดีขึ้น อาการหอบหืดก็จะดีขึ้นด้วย
3. เจ็บคอและ / หรือไอเรื้อรัง
ผู้ ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อาจมีอาการเจ็บคอ จากการที่มีอาการคัดจมูก และต้องหายใจทางปาก หรือมีน้ำมูกไหลลงคอ ทำให้มีอาการไอเรื้อรังร่วมด้วยได้
4. ไซนัสอักเสบและ / หรือริดสีดวงจมูก
ไซนัส อักเสบเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุไซนัส เมื่อเยื่อบุจมูกบวมจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ จะทำให้รูเปิดของไซนัสอุดตัน และเกิดการคั่งของสารคัดหลั่งภายในไซนัส และเกิดการบวมของเยื่อบุไซนัส และการติดเชื้อแบคทีเรียตามมา นอกจากนั้นการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุจมูก เป็นปัจจัยหนึ่งในการเกิดริดสีดวงจมูก และถ้าเยื่อบุจมูกบวมมาก อาจทำให้อากาศไม่สามารถผ่านไปสู่เซลล์ประสาทรับกลิ่นที่โพรงจมูกส่วนบน ทำให้ได้กลิ่นน้อยลง หรือจมูกอาจไม่ได้กลิ่นเลยได้
5. การกรนและภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
ร้อยละ 40 –60 ของผู้ป่วยจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มีปัญหาคัดจมูก ซึ่งเกิดจากเยื่อบุจมูกบวม ทำให้การไหลเวียนของอากาศภายในโพรงจมูกลดลง และความต้านทานภายในโพรงจมูกสูงขึ้น การที่ต้องพยายามสูดลมหายใจเข้าแรงขึ้น ในขณะที่การไหลเวียนของอากาศลดลงในช่วงหายใจเข้า จะส่งผลให้เกิดการตีบแคบและอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน จนอาจเกิดเสียงกรน และถ้าการอุดกั้นทางเดินหายใจเป็นมากขึ้น อาจเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ ภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียหรือง่วงซึมในเวลากลางวัน ส่งผลให้การเรียนรู้และสมรรถภาพในการทำงานลดลง บุคลิกภาพแย่ลงรวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากขึ้น ในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มักมีปัญหาต่อมทอนซิลและแอดี นอยด์โตร่วมด้วยซึ่งเป็นสาเหตุของการกรน และ/ หรือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่พบได้บ่อย